รื่นรมย์เพลินใจ ใต้ละอองฝนโปรยปราย
เมื่อฝนแรกโปรยละออง ก็คล้ายท่วงทํานองเปี่ยมชีวิตแห่งขุนเขา
สายน้ําไหลหลั่งเต็มหน้าผา โจนลงมาเป็นน้ําตกอันงดงาม ลําธารเปี่ยมปริ่มเย็นใส ผืนดินชุ่มฉ่ำสมบูรณ์ พรรณไม้ที่หลับใหลมาเนิ่นนานก็ได้เวลาฟื้นคืน แตกยอด ผลิดอกใบ
ภูไพรฤดูฝนให้อารมณ์รื่นรมย์ เย็นตา ภูเขามักห่มหมอกขาวในยามเช้า รับทอสาย ยามแดดส่องฉาย และเช่นกัน ดอกไม้นานาก็ล้วนพากันผลิบาน ทั้งเหลืองละมุน แดงสด ส้มแสด ฟ้าคราม ขาวสะอาด และเขียวสดใส ราวกับป่าใหญ่แต่งแต้มด้วยพู่กันหลากสี
บนยอดดอยแห่งภาคเหนือ ป่าดึกดําบรรพ์อุดมสมบูรณ์เต็มที่ ไม้ใหญ่ขึ้นคลุมด้วยมอส และไลเคน ดังห่มคลุมด้วยผืนผ้าสีเขียวนุ่มหนา
ภูหินทรายแห่งภาคอีสานกลับมาเขียวขจี ไม่เพียงความชุ่มชื้น้ําเย็น บรรดาดอกไม้ป่าก็ผลิพราวไปทั่วพลาญหิน จากที่เคยมีเพียงสีน้ําตาลแห้งแล้ง ก็คล้ายประดับประดาด้วยลวดลายหลากสี
เช่นเดียวกับภาคใต้ แม้ความชุ่มชื้นจะห่มคลุมภูเขาตลอดปี ทว่าในห้วงยามนี้ ยามฝนโปรยละออง ไม้บางสายพรรณก็ได้ผลิพร่างเบ่งบาน ประหนึ่งลํานํา อันอ่อนหวานแห่งห้วงฤดู
ภูไพรจึงไม่เพียงชุ่มฉ่ำด้วยน้ําฝน น้ําตกจึงไม่เพียงไหลรี่เปี่ยมล้น หนทางสู่ภูเขายังรื่นรมย์ด้วยดอกไม้
รื่นรมย์เพลินใจ ใต้ละอองฝนโปรยปราย
01
ภูสอยดาว พรั่งพราวด้วยดอกไม้
กล่าวได้ว่า เสน่ห์ของภูสอยดาว คือยามที่หงอนนาคผลิบานทั่วทั้ง ยอดภู แม้จะต้องเดินไต่ความสูงชัน ขึ้นไปกว่า 4 ชั่วโมง ทว่าก็คุ้มค่ายิ่ง เมื่อได้เห็นภาพดังกล่าวตรงหน้า
ที่ความสูง 1,633 เมตร จาก ระดับทะเลปานกลาง ช่วงฤดูฝน เดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปี บน ยอดภูจะผลิพราวด้วยดอกหงอนนาคสีม่วงสดใส แซมด้วยหญ้ารากหอม สีบานเย็น และสร้อยสุวรรณาสีเหลือง ละมุน ท่ามกลางสนสามใบที่ยืนต้น สูงเปลาราวภาพเขียน
นอกจากทุ่งหงอนนาค ยังมีทาง เดินชมป่าดิบเขา ชมน้ําตกสายทิพย์ ซึ่งแม้จะมีขนาดเล็ก ทว่าก็งดงามด้วย มอสสีเขียวสด ราวกับห่มคลุมด้วยผืน ผ้านุ่มหนา
การเดินทาง
จากจังหวัดพิษณุโลก ใช้ทางหลวงหมายเลข 11 ไปอุตรดิตถ์ จากนั้นใช้ ทางหลวงหมายเลข 1246 ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 1143 ผ่านอําเภอชาติตระการ แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 1237 ผ่านบ้านบ่อภาค แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 1268 ที่ทําการอุทยานฯ อยู่ตรงนําตกภูสอยดาว 8
สิ่งอํานวยความสะดวก
การเดินขึ้นภูสอยดาว สามารถไปได้ด้วยตัวเอง ควรเตรียมทุกอย่างไปให้พร้อม ทั้งเสื้อกันฝน เป้กันน้ําฝน เต็นท์ เสบียงอาหาร และหากต้องการ ลูกหาบ ควรสอบถามอุทยานฯ ล่วงหน้า
มีบริษัททัวร์จัดเที่ยว ภูสอยดาวหลายบริษัทด้วยกัน ค่อนข้างสะดวกสบาย เพราะมีการจัดเตรียมทุกอย่าง ครบครัน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว
02
ภูวัว ต้นธารแห่งอีสานเหนือ
แม้พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นพลาญ หินทราย ทว่าเมื่อสายฝนมาเยือน นัก นิยมธรรมชาติทั้งหลายล้วนรู้ว่า ภูวัว จะน่าชมทั้งน้ําตกและดอกไม้
และแม้จะเป็นเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่า ทว่าก็เปิดให้เที่ยวชมหลายจุด ด้วยกัน เช่น น้ําตกชะแนน ซึ่งกล่าว ได้ว่างดงามยิ่งในภาคอีสาน ดั่งชื่อ “ชะแนน” หรือ “สะแนน” ในภาษา ท้องถิ่นที่มีความหมายว่าสวยงามที่สุด
เส้นทางค้างแรมลานอเมริกา น้ําตกชะแนน เหมาะสําหรับผู้ชื่นชอบ เดินป่าชมดอกไม้ ระหว่างทางจะผลิ
พราวด้วยดอกไม้ป่า เช่น เปราะหินสี เหลือง หงอนนาค รวมถึงอั้วดาวธาร กล้วยไม้ซึ่งพบที่นี่เพียงแห่งเดียว
น้ําตกถ้ำพระ เริ่มด้วยนั่งเรือ เข้าไป แล้วเดินผ่านพลาญหินกว้าง ระหว่างทางจะมีเปราะหินและลิ้น มังกรให้ชม ที่ปลายทางมีอ่างมโนรา ให้เล่นน้ํา ถัดไปเป็นอ่างเก็บน้ําถ้ำพระ ซึ่งผู้คนนิยมมาหย่อนใจ
น้ําตกเจ็ดสี แม้ทางเดินจะค่อน ข้างลื่น หากน้ํามากจะอันตราย ข้าม ไปไม่ได้ แต่ก็นับว่าน่าแวะไปเยือน นอกจากสายน้ําลดหลั่นยังมีพรรณไม้ หลากสีให้ชื่นชม อย่างอั้วแก้มช้ํา เอื้องม้าวิ่ง ซึ่งมีทั้งสีชมพูสดและ สีชมพูอ่อนหวาน
การเดินทาง
จากจังหวัดบึงกาฬ ใช้ทางหลวงหมายเลข 212 ไปทางอําเภอทุ่งคล้า เลยตัวอําเภอไปราว
3 กิโลเมตรจะมีทางแยกขวา ไปอีก 5 กิโลเมตรจะถึง ที่ทําการเขตฯ
สิ่งอํานวยความสะดวก
ภูวัวสวยสุดในช่วงฤดูฝน การเที่ยวชมจึงเลี่ยง ความเปียกปอน-ลื่นล้มไปไม่พ้น จึงควรเตรียมอุปกรณ์กันฝน ให้พร้อม ก้าวเดินอย่างระมัดระวัง เพราะบางเส้นทางค่อนข้าง อันตราย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ที่ทําการเขตฯ มีบ้านพัก 2 หลัง เรือนนอน 2 หลัง มีเจ้าหน้าที่นําทางและลูกหาบ ให้บริการ กรณีต้องการเดินป่า ค้างแรม ต้องทําจดหมายแจ้ง
ล่วงหน้า 15 วัน ถึงหัวหน้า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว ตําบลทุ่งคล้า อําเภอทุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ 43180
03
ภูหลวง มรดกแห่งอีสาน
แม้จะเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า มีวัตถุประสงค์หลักในการอนุรักษ์ พรรณไม้และสัตว์ป่า ทว่าก็มีพื้นที่ซึ่ง เปิดให้สัมผัสและเรียนรู้ธรรมชาติ
หน่วยพิทักษ์ป่าโคกนกกระปา คือ “ห้องรับแขก” ของภูหลวง ที่ ความสูง 1,400 เมตร จากระดับทะเล ปานกลาง ผู้มาเยือนจะได้สัมผัส กล้วยไม้กว่า 170 ชนิด โดยเฉพาะ รองเท้านารีสุขะกุล ซึ่งบนโลกพบ เพียงที่นี่และในป่าสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว
เราสามารถสัมผัสความพิเศษนี้ ด้วยเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ซึ่งมีให้ เลือก 3 เส้นทางด้วยกัน คือ
1. วงรอบเล็ก ลานสุริยัน ระยะ ทาง 1,871 เมตร ทางเดินจะทอด เข้าไปในป่าไม้พุ่ม ราวกับสวนบอนไซ สองข้างทางปรากฏกล้วยไม้หลาก หลาย เช่น เฮืองตาเห็นดอกขาวนวล เอื้องคําสีเหลืองสดใส ปลายทางอยู่ที่ “นกกระบา” หินรูปทรงเหมือน นกตบยุง ที่เกิดจากการตกผลึกของ แมกมา
2.วงรอบใหญ่ โคกนกกระบารอยเท้าไดโนเสาร์ ระยะทางราว ๔ กิโลเมตร ทางเดินจะเลาะริมหน้าผา ผ่านโคกพรหมจรรย์ จุดชมตะวันขึ้นที่ ผาช้างผ่าน ผาสมเด็จ ผาเตลิ่น และ รอยเท้าไดโนเสารคาร์โนซอร์ ซึ่งมีอาย ราว 100-150 ล้านปีในยุคโลกเก่า
3.เส้นทางแปกดํา-แปกใหญ่ ระยะทาง 7.5 กิโลเมตร ทางเดินจะ ผ่านแปกดํา-ป่าสนสามใบซึ่งยืนต้น หนาแน่นเป็นสีดําแปลกตา ถัดไปอีก 2 กิโลเมตรจะถึงแปกใหญ่เป็นป่าสน สามใบต้นสูงใหญ่น่าชม
นอกจากเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ยังมีจุดน่าชมใกล้ ๆ หน่วยฯ อย่าง า ผาสมเด็จ ซึ่งทั้งทิวทัศน์สวยและ – ทะเลหมอกในยามเช้า
การเดินทาง
จากอําเภอภูเรือ จังหวัดเลย ไปตามทางหลวงหมายเลข 203 ถึงกิโลเมตรที่ 35 แยกขึ้นภูหลวงที่บ้านสานตม ระยะทาง 16 กิโลเมตร ถึงสํานักงานเขตฯ ภูหลวง จากนั้นใช้ทางคอนกรีตขึ้น หน่วยฯ โคกนกกระบา อีก 14 กิโลเมตร ทางค่อนข้างดี รถเก๋งสามารถใช้ทางได้ 5
สิ่งอํานวยความสะดวก
หน่วยฯ โคกนกกระบา เปิดให้เข้าชมทุกวัน ด่านตรวจ เปิด 06.00-15.00 นาฬิกา หากค้างแรม ต้องทําหนังสือ ขออนุญาตที่สํานักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน หน่วยฯ โคกนกกระบา มีบ้านพักรับรอง ไม่มีร้านอาหาร ให้บริการ จึงควรเตรียมอาหาร ไปด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ตู้ ปณ. 52 ปทจ.เลย อําเภอเมืองฯ จังหวัดเลย 42000
04
ทุ่งแสลงหลวง ดั่งผืนพรมสีเขียวกลางป่าสน
กล่าวได้ว่า ความงามของอุทยาน แห่งชาติทุ่งแสลงหลวง คือทุ่งหญ้า กว้างและป่าสนสองใบ
ในฤดูหนาว “ทุ่งหญ้าสะวันนา” ซึ่งเป็นชื่อเรียกขานนั้น งดงามด้วยสี เหลืองทองของต้นหญ้าที่ผลัดเปลี่ยน สี ขณะฤดูฝนไม่เพียงทุ่งหญ้าจะเขียว ขจีประหนึ่งปลาดด้วยผืนพรม พรรณ ไม้นานาก็พร้อมกันผลิดอกใบ
ทุ่งแสลงหลวง คือทุ่งหญ้ากว้าง ที่บอกเล่าระบบนิเวศได้เป็นอย่างดี ความงามนี้ประกอบด้วยหญ้าหลาก หลายชนิด เช่น หญ้าขน หญ้าคมบาง หญ้าคา ขณะตามพื้นดิน ต้นเข้า พรรษาและกระเจียวจะผลิบานดอก แทรกด้วยรอยตีนช้างป่าและกระต่าย ป่า-สัตว์แห่งทุ่งหญ้ากว้าง
ทุ่งนางพญา อยู่ห่างจากทุ่งแสลง หลวงราว ๑๕ กิโลเมตร เป็นทุ่งหญ้า แวดล้อมด้วยป่าสนสองใบ หากสังเกต ตามคาคบ อาจพบเอื้องชะนีและเอื้องคําปากไก่ กล้วยไม้ดอกสีสวย
ทุ่งโนนสน ทุ่งหญ้าใจกลาง ผืนป่าทุ่งแสลงหลวง เหมาะสําหรับ ผู้ชื่นชอบเดินป่าและปั่นจักรยานเสือ ภูเขา ทางจะทอดเข้าไปยังใจกลาง ทุ่งหญ้าและป่าสนสองใบสมบูรณ์
นอกจากทุ่งหญ้ารอบ ๆ อุทยานฯยังมีจุดน่าชม เช่น น้ําตกแก่งโสภา ซึ่ง อยู่ริมทางหลวงหมายเลข 12 กิโลเมตรที่ 72 แก่งวังเย็น ซึ่งอยู่ ระหว่างทางไปทุ่งโนนสน เหมาะ สําหรับกางเต็นท์ค้างแรม ชมนกและ ผีเสื้อ
การเดินทาง
ที่ทําการอุทยานฯ อยู่ริมทางหลวงหมายเลข 12 ห่างจากจังหวัดพิษณุโลกราว 80 กิโลเมตร หน่วยพิทักษ์ป่า หนองแม่นา ซึ่งเป็น จุดเที่ยวชมทุ่งแสลงหลวง อยู่ห่างที่ทําการอุทยานฯ ราว 60 กิโลเมตร ใช้เส้นทางไปยัง อําเภอเขาค้อ แล้วแยกขวาใช้ ทางหลวงหมายเลข 2258
สิ่งอํานวยความสะดวก
ที่ทําการอุทยาน ทุ่งแสลงหลวงและที่หน่วยฯ หนองแม่นามีที่พักและ ลานกางเต็นท์ให้บริการ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
อุทยานแห่งชาติ ทุ่งแสลงหลวง
05
ภูหินร่องกล้า เติมงามบนภูผาหิน
กล่าวได้ว่า ภูหินร่องกล้าเป็นทั้ง สถานที่สําคัญทางประวัติศาสตร์และ แหล่งธรรมชาติอันงดงาม
ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การเมืองโลกถูกแบ่งฝ่ายเป็นทุนนิยม สังคมนิยม ที่นี่เคยเป็นฐานที่มั่น สําคัญของพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง ประเทศไทย (พคท.) นักศึกษายุค 14 ตุลาฯ ร่วมต่อสู้กับพี่น้องชาวม้งบนนี้
ทางหลวงหมายเลข 2331 ซึ่ง ทอดผ่านยอดภู นําพาไปเยือนสถานที่ ต่าง ๆ เช่น โรงเรียนการเมืองการทหารของ พคท. ซึ่งอยู่ห่างที่ทําการ อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า 3.5 กิโลเมตร
ผ่านสงครามอุดมการณ์คราวนั้น ภูหินร่องกล้าก็ยังงดงามน่าชม น้ําตก ยังไหลหลั่งโจนสาย อย่างน้ําตกร่มเกล้า ภราดร ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ โรงเรียนการเมืองฯ น้ําตกหมันแดง ที่แม้จะต้องเดินลงหุบ ลึกลิ่ว ทว่าก็สวยด้วยเชิงชั้นและดอก ลิ้นมังกรสีชมพูอ่อนหวาน
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติก็น่า เที่ยวชม ทั้งเส้นทางไปลานหินแตกและลานหนปุ่มฤดูฝนเช่นนี้ พรรณไม้ จะผลิดอกหลากสีทัวลานหิน
กุหลาบขาวแย้มกลีบขาวสะอาด เปราะหินอวดดอกเหลืองนวลตาม แผ่นหินชุ่มชื้น กล้วยไม้ช้างงาเดียว แทงดอกอยู่ทั่ว ตาเหินไหวบานดอก ขาวพราวราวภาพเขียน
จากอุทยานฯ ไปต่ออีก 30 กิโล เมตรจะถึงภูทับเบิก แหล่งท่องเที่ย ซึ่งกําลังได้รับความนิยม เพราะมีท ทิวทัศน์สวย มีที่พักและร้านอาหาร บรรยากาศดี
การเดินทาง
แนะนําให้ขึ้นภูหินร่องกล้า ทางอําเภอนครไทย เพราะจะ เที่ยวชมจุดต่าง ๆ ตามข้อมูล ข้างต้นได้สะดวก ขากลับก็ ลงทางภูทับเบิกได้เลย แม้จะเป็นเส้นทางชันดิ่งคดเคี้ยว ทว่าหากขับขี่อย่างระมัดระวัง และใช้เกียร์ต่ําตลอดทาง จะได้อรรถรสในการเดินทาง
สิ่งอํานวยความสะดวก
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า มีบ้านพัก ลานกางเต็นท์ และร้านอาหารให้บริการทุกวัน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
06
สวนพฤกษศาสตร์บ้านร่มเกล้า เบ่งบานจากเถ้าแห่งวันวาร
หากย้อนอดีตกลับไป เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 บ้านร่ม เกล้า อําเภอชาติตระการ จังหวัด พิษณุโลก คือสมรภูมิสู้รบระหว่างไทย กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ลาว ความสูญเสียมีมากมายที่ชายแดน แห่งนี้
ในเวลาต่อมา เมื่อสมเด็จพระ นางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จ พระราชดําเนินเยือน พระองค์มีพระ ราชดําริให้จัดตั้งสวนพฤกษศาสตร์ บ้านร่มเกล้าเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2542
ถึงวันนี้ สวนพฤกษศาสตร์ฯ น่า ชมด้วยทิวทัศน์และพรรณไม้หลากหลาย ที่สํานักงานและบนยอดภู สามารถชมทะเลหมอกฤดูฝนได้ ขณะ เรือนเพาะชํามีกล้วยไม้กว่า 300 ชนิด ทั้งพันธุ์ท้องถิ่นและพันธุ์ต่างถิ่นหายาก เช่น กล้วยไม้สิงโตสยาม ประทัดอ่างขาง รองเท้านารีคางกบคอแดง
ในแปลงเพาะพันธุ์ไม้ยืนต้นมีทั้ง ไม้ทั่วไปและไม้หายาก เช่น จําปี จําปาซึ่งมีมากกว่า 20 ชนิด กระดังงา 25 ชนิด รวมถึงพืชตระกูลขิง-ข่า
และที่โดดเด่นกว่าพรรณไม้อื่น ใด คือ “สร้อยสยาม” พรรณไม้เฉพาะ ถิ่นของที่นี่ และเอื้องเทียนภูหิน พรรณไม้ชนิดใหม่ของโลกที่เพิ่งตั้งชื่อ เมื่อไม่นานมานี้
การเดินทาง
จากจังหวัดพิษณุโลก ใช้ทางหลวงหมายเลข 11 แล้ว แยกขวาใช้ทางหลวงหมายเลข 1296 ไป อําเภอวัดโบสถ์ จากนั้นเลี้ยวขวาใช้ทางหลวง หมายเลข 1143 ไปอําเภอ ชาติตระการ เลยตัวอําเภอมา ราว 100 เมตร เลี้ยวซ้ายใช้ ทางหลวงหมายเลข 1237 ถึงสามแยก เลี้ยวขวาใช้ ทางหลวงหมายเลข 12168 ก่อนถึงบ้านร่มเกล้าจะมีทาง แยกซ้ายขึ้นไปสวนพฤกษศาสตร์ มีป้ายบอกชัดเจน
สิ่งอํานวยความสะดวก
มีบ้านพักขนาด 15-20 คน 1 หลัง ลานกางเต็นท์ สามารถสั่งทําอาหารได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
สวนพฤกษศาสตร์ บ้านร่มเกล้า
07
เบตง เมืองหนาวแห่งแดนใต้
ณ ปลายด้ามขวาน ห่างจาก ชายแดนมาเลเซียเพียง 7 กิโลเมตร อําเภอใต้สุดของจังหวัดยะลาแห่งนี้ ดังเมืองหนาวในหุบเขา
เบตงห่มม่านหมอกในทุกฤดูกาล ทั้งหมอกขึ้น หมอกฝน และหมอก หนาว อากาศจึงหนาวเย็นตลอดปี
ด้วยส่วนผสมที่ลงตัว ผู้คนครึ่ง หนึ่งคือมุสลิมซึ่งดํารงตนตามวิถี และ อีกครึ่งคือชาวจีนโพ้นทะเลที่ชํานาญ การค้าขาย เบตงจึงมีเสน่ห์ทั้งเรือก สวนและในเมือง
ในเมืองย่านเก่านั้นน่าเดินเที่ยว ชม ทั้งร้านอาหารจีนรสเลื่องชื่อที่ภัตตาคารต้าเหยิน มัสยิดเก่าแก่ ศาลเจ้าแม่กวนอิม วัดพุทธาธิวาส และ อุโมงค์รถยนต์แห่งแรกของเมืองไทย
ออกนอกเมืองไปตามเส้นทาง เบตง-ยะลาเพียง 4 กิโลเมตร จะพบ น้ําพุร้อน ตามทางเดิมไปอีกไม่ไกล จะถึงหมู่บ้านปิยะมิตร 1 พื้นที่เคลื่อนไหวเก่าของพรรคคอมมิวนิสต์ มาลายา (พคม.) มีอุโมงค์และสถาน ที่สําคัญของ พคม. ที่น่าศึกษาเรียนรู้
ขณะที่หมู่บ้านปิยะมิตร 2 นอกจากฐานที่มั่นของ พคม. ยังเป็น แหล่งปลูกไม้ดอกเมืองหนาวสําคัญ ของภาคใต้
ด้วยน้ําพระราชหฤทัยของสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี เมื่อทรงทราบว่าปลูก ยางพาราไม่ได้ผล เนื่องจากความสูง และอากาศเย็นตลอดปี พระองค์จึง ทรงแนะแนวทางในการปลูกไม้ดอก เมืองหนาว
ทุกวันนี้ ไม้ดอกเมืองหนาวจึงผลิ บานดารดาษ เช่น เบญจมาศ ลิลี คาร์เนชัน หน้าวัว และกล้วยไม้หลากสี
การเดินทาง
ไปเบตงสะดวกทั้ง จากหาดใหญ่และยะลา ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง ใกล้เคียงกัน
จากหาดใหญ่ มีรถตู้ ให้บริการหลายบริษัท ทั้งเส้นทางผ่านยะลา และผ่านมาเลเซีย (เส้นทางผ่านมาเลเซีย ต้องมีพาสปอร์ต)
จากยะลา มีแท็กซี่ ประจําทางไปเบตง (รถเก๋งเบนซ์ นั่งรวม 5 คน) เที่ยวเวลา 05.00-17.00 นาฬิกา ออกทุกชั่วโมง
สิ่งอํานวยความสะดวก
โครงการไม้ดอกเมืองหนาว มีที่พักและร้านอาหาร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ททท. สํานักงานนราธิวาส
08
สวนพฤกษศาสตร์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ชีวิตงามแห่งแดนดอย
แรกเริ่ม สวนพฤกษศาสตร์แห่งนี้ ก่อตั้งขึ้นเพื่อรวบรวมพรรณไม้ในการ อนุรักษ์ ขยายพันธุ์ และศึกษาวิจัย ทว่าด้วยความงดงามและสีสัน จึง ทําให้งาน “ศูนย์บริการการศึกษาและ ทัศนนิเวศน์” กลับโดดเด่นเป็นที่สนใจ ในเวลาต่อมา
ท่ามกลางทิวดอยลดหลัน อาคารพรรณไม้ต่าง ๆ จัดสร้างอย่าง ลงตัวบนเนื้อที่ 6,500 ไร่ โดดเด่น ด้วยอาคารเรือนกระจก ซึ่งจัดแสดง พรรณไม้ป่าดิบถิ่นใต้ อย่างเช่น “ปาล์มหลังขาว” ซึ่งโลกนี้พบเพียงที่ภูเก็ตและสุราษฎร์ธานีเท่านั้น
ถัดกันเป็นเรือนรวบรวมพรรณ ไม้ทะเลทราย กระบองเพชรหลาก หลายพันธุ์ทั้งเติบโตและผลิดอก สีสวยอยู่ในนั้นใกล้ ๆ กันเป็นอาคาร ของบรรดาพืชกินซาก กล้วยไม้ และ พรรณไม้น้ํา โดยเฉพาะบัววิกตอเรีย ที่บ้านเกิดอยู่ไกลถึงป่าแอมะซอน ประเทศบราซิล
นอกจากนี้ ยังมีกล้วยไม้ถิ่น เหนืออีกมากหลาย โดยเฉพาะ รองเท้านารีอินทนนท์ ซึ่งเปรียบดั่ง อัญมณีแห่งแดนดอยเชียงใหม่
การเดินทาง
จากเชียงใหม่ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1096 ไปอําเภอแม่ริม ราว 12 กิโลเมตร สวนพฤกษศาสตร์ฯ อยู่ริมถนน ด้านซ้าย
สิ่งอํานวยความสะดวก
เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.30-16.30 นาฬิกา มีร้านขายของที่ระลึก เช่น เสื้อ พวงกุญแจ กล้วยไม้ในขวด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
สวนพฤกษศาสตร์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ
09
อินทนนท์ ต้นทางสู่หิมาลัย
กล่าวได้ว่า ดอยอินทนนท์คือ ส่วนหนึ่งของขุนเขาหิมาลัยอันยิ่งใหญ่ ที่ความสูง 2,565 เมตร จากระดับ ทะเลปานกลาง ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของ ประเทศไทย เราจะพบสิ่งมีชีวิตเฉกเช่น หิมาลัย ซึ่งทอดลดหลั่นจากประเทศ เนปาล ภูฏาน เมียนมาร์ มายังจังหวัด เชียงใหม่
เราสามารถขึ้นไปสัมผัส “หิมาลัย” ได้โดยทางหลวงหมายเลข 1009 ระหว่างทางจะผ่านน้ําตกสวยหลาย แห่ง เช่น น้ําตกแม่กลาง น้ําตกแม่ยะ น้ําตกวชิรธาร
ที่กิโลเมตร 31 จะถึงศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติดอย อินทนนท์ มีเจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลและ ภาพถ่ายน่าชม กิโลเมตรที่ 41 จะ ผ่านพระมหาธาตุนภเมทนีดลและ พระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ ซึ่งสร้าง ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระ บรมราชินีนาถ แล้วถนนจะไปสิ้นสุด ที่จุดสูงสุด
อ่างกาหลวง แอ่งน้ําซับบนยอด ดอย ที่มาของชื่อขุนเขาแห่งนี้ บน เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ไม้ใหญ่อย่าง ก่อและจําปีป่าแผ่กิ่งร่มครึม ตาม ลําต้นห่มคลุมด้วยมอสและไลเคนนุ่มหนา ขณะพื้นล่างจะปูลาดด้วย ข้าวตอกฤษ รอบ ๆ นี้เองที่จะมี โอกาสพบซาลาแมนเดอร์และนก กินปลีหางยาวเขียว ชีวิตแห่งหิมาลัย
กิ่วแม่ปาน ทางเดินจะผ่านป่า ดิบเขาสมบูรณ์ น้ําตกเล็ก ๆ ระรื่น จากนั้นจะทอดออกสู่ทุ่งหญ้า เลาะ เลียบหน้าผา หากโชคดีจะมีโอกาส พบกวางผา สัตว์สงวน 1 ใน 15 ชนิด ของบ้านเรา รวมถึงกุหลาบพันปี พรรณไม้ประจําประเทศเนปาล อัน เปรียบเหมือนสัญลักษณ์แห หิมาลัย
การเดินทาง
ยอดดอยอินทนนท์อยู่ห่าง จากตัวเมืองเชียงใหม่ 106 กิโลเมตร ทางค่อนข้างคดโค้ง ไต่ชั้น ฤดูฝนถนนลื่น ควรตรวจสภาพรถยนต์ ก่อนเดินทาง จากอําเภอจอมทอง มีรถสองแถวให้บริการถึง ที่ทําการอุทยานฯ สามารถเหมา ไปยังจุดต่าง ๆ ได้
สิ่งอํานวยความสะดวก
อุทยานฯ มีบ้านพัก ลานกางเต็นท์ ร้านสวัสดิการ และกิจกรรมของเยาวชนชาวม้ง ให้บริการ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ททท. สํานักงานเชียงใหม่
สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมจากนิตยสารอนุสาร อสท ได้ที่ : ศูนย์วิทยบริการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี
ขอขอบคุณ
ที่มา : https://osothoonline.com/